เลือกหน้า

เทคนิคและเรื่องควรรู้

เทคนิคและเรื่องควรรู้

การเลือกซื้อแบตเตอรี่รถยนต์

แบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์ทำหน้าที่ ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น

แบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่ง ผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เมื่อใดก็ตามที่ไดร์ชาร์จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ ขณะเดียวกันถ้าไดร์ชาร์จทำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง (แบตเตอรี่) จนกว่าจะเต็มแบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียวก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่อง ยนต์เท่านั้น เพื่อส่งกระแสไฟเข้าสู่มอเตอร์สตาร์ท และ ระบบต่างๆของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด และ ทำงานแล้ว ไดร์ชาร์จก็จะทำหน้าที่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกไป และ ถูกประจุเพิ่มเข้าไป หมุนเวียนเข้าออกแบตเตอรี่อยู่เสมอ ไม่ได้จ่ายออกไปจนหมดอย่างเดียวนั่น หมายความว่าแบตเตอรี่จะหมดได้ก็มีอยู่เพียง 2 กรณี นั่นก็คือ

    1. เก็บไฟไม่อยู่ หรือ หมดอายุการใช้งาน
    2. ไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์มีิอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

1. แบบเปียก นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ต้องเติม และ ดูแลน้ำกลั่นบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กับ แบบไม่ต้องดูแลบ่อย (Maintenance Free) ซึ่งจะกินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น ในแบบแรกนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 1.5-2 ปี แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และ การดูแลรักษา ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่สม่ำเสมอก็จะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อถึงอายุการใช้งานของมันก็สมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูก ใหม่ได้แล้ว

2. แบบแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และ มีราคาแพง แบตเตอรี่แบบแห้งนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 5-10 ปี แบตเตอรี่แบบนี้ไม่มีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น หรือไม่ก็ถูกซีลทับฝาไปเลย แต่จะมีตาแมวไว้สำหรับไว้คอยตรวจเช็คระดับน้ำกรด และ ระดับไฟชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์

การเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์

ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่นั้นถ้าหากว่าไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อะไร เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ติดตั้งพวกระบบเครื่องเสียงต่างๆ หรือ ติดตั้งพวกอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้น เพราะจะเป็นการทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการคำนวณ และ เลือกขนาดของแบตเตอรี่รถยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานของรถรุ่นนั้นๆอยู่แล้ว แต่ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือ แบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นมักจะมีขนาดของตัวแบตเตอรี่ใหญ่ขึ้นด้วย ดังนั้นฐานของแบตเตอรี่เดิมติดรถสามารถรองรับได้หรือไม่ ไม่ควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์โดยไปลดขนาดของแอมป์ลงโดยเด็ดขาด แต่สามารถเลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้โดยประมาณ 10-30 A.

การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือการประจุไฟเข้าไปในแต่ละครั้ง

ควรจะเลือกใช้การชาร์จอย่างช้าเอาไว้ และทิ้งไว้ซักประมาณ 5-10 ชั่วโมง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ทั้งนี้ก็เพื่อให้แบตเตอรี่เสื่อม สภาพได้ช้าลง และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่ตามร้านที่เปลี่ยนแบตเตอรี่โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีชา ร์จเร็วเพื่อรีบให้บริการลูกค้าซึ่งจะข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่เนื่องจากในแบตเตอรี่รถยนต์นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่

ข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่

เนื่องจากในแบตเตอรี่นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษให้ระมัดระวังพวกไฟ หรือประกายไฟต่างๆ รวมทั้งประกายไฟจากการสูบบุหรีด้วย ให้ทำการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา ระวังอย่าให้เด็กเข้าใกล้น้ำกรด และ แบตเตอรี่การจัดวางและจัดเก็บแบตเตอรี่เก่า ควรจัดวางและเก็บในสถานที่ที่ปลอดภัย และ เป็นจุดที่จัดเก็บแบตเตอรี่โดยเฉพาะ ไม่วางทิ้งเกลื่อนกลาดไม่ควรทิ้งแบตเตอรี่เก่าลงในถังขยะปกติธรรมดาทั่วไปให้ระมัดระวังอันตรายจากแบตเตอรี่ระเบิด ในขณะที่ทำการชาร์จแบตเตอรี่นั้นจะมีแก็สเกิดขึ้น ซึ่งแก็สนั้นเป็นสารที่ทำให้เกิดการระเบิดได้อย่างสูงให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนตัวแบตเตอรี่ ปฏิบัติตามคู่มืองานซ่อมประจำอู่เรื่องระบบไฟฟ้า และ ปฏิบัติตามคู่มือประจำรถให้ระวังอันตรายจากน้ำกรดเวลาเดือด น้ำกรดในแบตเตอรี่นั้นเป็นสารกัดกร่อนอย่างรุนแรง ดังนั้นควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา และ ถุงมือขณะที่ทำงานในกรณีนี้อยู่ รวมทั้งระวังอย่าเอียง หรือ ตะแคงแบตเตอรี่เป็นอันขาด เพราะน้ำกรดสามารถรั่วไหลออกมาทางรูระบายได้อ้างอิง

ข้อมูลจาก

คุณ วรพล สิงห์เขียวพงษ์ เว็บไซด์ของ 3k แบตเตอรี่, เว็บไซด์ Yuasa แบตเตอรี่เว็บไซด์ Bosch แบตเตอรี่ คุณกริช เกษมรัชดารักษ์

การเลือกซื้อแบตเตอรี่รถยนต์ที่เหมาะสมกับงาน

เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์กันเมื่อใด (เผื่อเวลาไว้ ก่อนมีปัญหา)

  1. ใช้งานมานานกว่า 1.5 – 2 ปี
  2. ไฟหน้าไม่สว่างเหมือนเช่นเคย
  3. กระจกไฟฟ้าทำงานไม่เหมือนเดิม (ช้าลง)
  4. ในตอนเช้า เครื่องยนต์สตาร์ท ติดยาก (รอบของเครื่องยนต์ไม่พอเพียง)
  5. ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยครั้ง (ตรวจ Checked Alternator for Voltage)

เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ ที่มีกำลังมากขึ้น (สำหรับทำหน้าที่หลายอย่าง)

  1. เมื่อมีการเพิ่มปริมาณไฟฟ้าส่องสว่างและติดเครื่องเสียงเพิ่มขึ้น
  2. ใช้รถเฉพาะกลางคืนและเปิดไฟส่องสว่างเป็นเวลานานๆๆ
  3. เปิดแอร์เป็นเวลานานๆ
  4. ใช้รถทั้งกลางวัน-กลางคืน
  5. ใช้เครื่องมือสื่อสาร
  6. ใช้รถน้อย (จอดรถไว้เป็นเวลาหลายวัน) หรือใช้รถเฉพาะวันหยุด

อาการของแบตเตอรี่รถยนต์และแนวทางการป้องกัน

  1. ไฟอ่อนหรือไฟหมด (วัดถพ.น้ำกรดทุกช่องต่ำกว่า1.250 / วัดไฟ ไม่ถึง 12 โวลท์)ห้ามเปลี่ยนถ่ายน้ำกรด เปิดไฟทิ้งไว้นาน อัดไฟ ด้วยกระแส 5-10 แอมป์ จนเกิดฟองก๊าซ อย่างเพียงพอ (วัด ถพ.น้ำกรดได้ 1.250 ทุกช่อง / วัดไฟ เต็ม 12 โวลท์)
  2. ตรวจดู และ ปิดสวิทช์ไฟ ทุกครั้งหลังดับเครื่อง
  3. ไม่ได้ใช้แบตเตอรี่นาน ติดเครื่องยนต์อย่างน้อย อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง
  4. ไฟรั่วลงดิน ตรวจระบบไฟฟ้า และสายไฟ ตรวจระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ ทุกๆ 6 เดือน
  5. ไดนาโม ไดชาร์ทรถยนต์ชำรุด หรือไม่ทำงาน ซ่อมไดนาโม ไดชาร์ทรถยนต์ พร้อมกับอัดไฟ แบตเตอรี่
  6. ขั้วต่อแบตเตอรี่ไม่แน่น หรือชำรุด ถอด ทำความสะอาด ด้วยน้ำร้อน ทาวาสลีน หรือเปลี่ยนขั้วใหม่ ดูแลแบตเตอรี่ ให้สะอาดเสมอ
  7. กำลังไฟแบตเตอรี่ ไม่พอเพียง อัดไฟ ด้วยกระแส 5-10 แอมป์ จนเกิดฟองอากาศ อย่างเพียงพอ ลดอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า ในรถยนต์ลง หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ ที่มีกำลังไฟมากขึ้น ตามกำลังเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้ง
  8. อัดไฟไม่เต็ม อัดไฟใหม่ ตรวจดูฟองก๊าซในระหว่างอัดไฟ (ถพ. 1.250, วัดไฟ 12 โวลท์) แบตเตอรี่เสื่อม เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

ผังแสดงอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องไฟฟ้าที่เป็นหลักของรถยนต์

ชนิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสไฟ (A)
ช่วงการสตาร์ทรถยนต์200-300
ปัดน้ำฝน5.0-6.5
แตร8-12
ไฟจุดบุหรี่7-8
เส้นความร้อน5-8
วิทยุ1.0-2.0
วิทยุเทป1.0-2.0
แอร์เย็น10-15
อร์ร้อน10-12
กระจกอัตโนมัติ15-20
เครื่องฟอกอากาศ1.7-2.0
เครื่องสื่อสาร0.1-0.3
นาฬิกา0.1-0.2
ไฟส่องสว่างภายใน0.8-1.0
ไฟหน้า10-15
ไฟเบรค5-8
ไฟท้าย0.4-0.6
ไฟตัดหมอกท้าย2.0-4.0
ไฟจอดรถ0.6-1.5
ไฟส่องทางหน้า6-10
ไฟเลี้ยว1.9-2.1
โทรทัศน์ติดรถ1.5-1.6
ซันรูฟ15-20
กระจกข้างไฟฟ้า10-12
เบาะไฟฟ้า13-20
เสาอากาศไฟฟ้า10-12
ไฟสูง4-5
ไฟประตูรถ10-20
กลอนล๊อกอัตโนมัติ20-40
เครื่องฉีดน้ำล้างกระจก10-12
แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แค่ถ่านไฟฉาย

แบตเตอรี่ไม่ใช่แหล่งผลิตไฟฟ้า แต่เป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เลือกไม่ยุ่ง ดูแลไม่ยาก และไม่แพง แต่มีรายละเอียดไม่น้อยแบตเตอรี่รถยนต์ ไม่เหมือนถ่านไฟฉาย ไม่เหมือนถ่านแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ (ที่มีแต่การใช้ไฟฟ้าออกไปอย่างเดียว เมื่อหมดแล้วก็ต้องเปลี่ยนทิ้ง) โดยเป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เมื่อเครื่องยนต์ติดและถูกใช้งาน ก็จะมีการประจุไฟฟ้าเพิ่ม และถูกใช้งานออกไปหมุนเวียนกัน เติมประจุไฟฟ้าเข้า-ออกจากแบตเตอรี่อยู่เสมอ มิได้ใช้ออกตลอดเวลาจนกว่าไฟจะหมด

ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดต้องนับว่าเป็นความผิดปกติ ไม่ใช่หมดแบบถ่านไฟฉายทั่วไป มี 2 กรณี คือ หมดเพราะเก็บไฟไม่อยู่-แบตเตอรี่หมดอายุ (หลังใช้แบตเตอรี่ไป 1.5-3 ปี) หรือระบบไดชาร์จบกพร่อง

รถยนต์ที่ใช้งานแบตเตอรี่ยังไม่หมด สภาพและระบบไดชาร์จปกติ แบตเตอรี่ไม่มีการหมดโดยมีการประจุและใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนกันตลอด แบตเตอรี่มีการใช้ไฟออกอย่างเดียวเฉพาะช่วง สตาร์ทเครื่องยนต์ ที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ไดสตาร์ทและระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้ว ไดชาร์จ (หรือยุคใหม่เป็นอัลเตอร์เนเตอร์ แต่ก็ยังเรียกรวมว่าไดชาร์จ) ก็จะทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่องโดยมีคัตเอาต์ (ทั้งแบบแยกหรือแบบรวมกับตัวไดชาร์จ) ทำหน้าที่ควบคุมการตัดการประจุ เมื่อไฟฟ้าเต็มแบตเตอรี่และประจุต่อเมื่อไฟฟ้าในแบตเตอรี่ไม่เต็มหรือพร่องลง

ไดชาร์จ

อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อถูกหมุนด้วยเครื่องยนต์/ผลิตไฟฟ้าเมื่อถูกหมุน

ไดสตาร์ท

อุปกรณ์ไปรับกระแสไฟฟ้าเข้าไปเพื่อสตาร์ทหมุนเครื่องยนต์แล้ว ก็หมดหน้าที่/รับกระแสไฟฟ้า เพื่อหมุนตัวเองและเครื่องยนต์

หากงงให้เปรียบเทียบดังนี้

บ้านที่มีการใช้น้ำ = รถยนต์-เครื่องยนต์ที่มีการใช้ไฟฟ้า
ปั๊มน้ำ = ไดชาร์จซึ่งทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าโดยมีการแปรผันตามรอบเครื่องยนต์ด้วยรอบต่ำ หรือจอดเดินเบาก็ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่เต็มที่จนกว่าจะถึงรอบปานกลางขึ้นไป
ถังน้ำสำรอง = แบตเตอรี่ เมื่อปั๊มยังไม่ทำงานหรือทำงานแต่ไม่เพียงพอ (ไดชาร์จหมุนช้า หรือใช้ไฟฟ้ามาก ๆ เช่นตอนกลางคืน เปิดแอร์ ไฟหน้า เครื่องเสียงชุดใหญ่และที่ปัดน้ำฝน) เริ่มต้นด้วยการจ่ายน้ำเข้าสู่บ้าน (เครื่องยนต์ถูกสตาร์ทด้วยไดสตาร์ท) จากถังน้ำสำรอง (แบตเตอรี่) โดยปั๊มน้ำ (ไดชาร์จ) ยังไม่ทำงาน เมื่อเข้าสู่ระบบปกติ (เครื่องยนต์ทำงานแล้ว) ปั๊มน้ำ (ไดชาร์จ) ก็ทำงานคอยส่งน้ำเข้าบ้าน พร้อมกับเสริมกลับเข้าสู่ถังน้ำสำรองที่พร่องลง ซึ่งก็แล้วแต่ว่าในตอนนั้นมีการใช้น้ำมากหรือน้อยกว่ากำลังการปั๊มในตอนนั้น เช่น ถ้าปั๊มน้อย (ไดชาร์จหมุนรอบต่ำ-รถยนต์จอดนิ่ง) แต่มีการใช้น้ำมากกว่าการปั๊มก็ต้องดึงน้ำมาจากถังสำรองมาใช้ควบคู่กัน เมื่อปั๊มแรงขึ้น (ไดชาร์จหมุนเร็ว) มีน้ำที่เหลือจากใช้งานแล้ว ก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังถังสำรองที่พร่องลง จนกว่าจะเต็ม

ถ้าเป็นไปตามวงจรนี้ไปเรื่อย ๆ ก็คือ เมื่อปั๊มได้เกินความต้องการและส่งกลับเข้าถังน้ำสำรองเต็ม (แบตเตอรี่) ปั๊มน้ำก็จะตัดการทำงาน (ไดชาร์จตัด โดยยังหมุนอยู่แต่ตัด ระบบการประจุไฟฟ้า ด้วยคัตเอาต์แบบในหรือนอกตัว) จนเมื่อ ๆ ใดที่ปั๊มไม่ทันหรือมีการใช้น้ำมากกว่าการปั๊ม ก็จะดึงน้ำจากถังสำรองมาใช้

ดังนั้นการที่มีถังน้ำสำรองใหญ่ ๆ ไว้จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายเพราะเท่ากับว่ามีกำลังไฟฟ้าสำรอง ไว้มากไม่ได้กินแรงปั๊ม (ไดชาร์จ) หรือทำให้ปั๊มทำงานหนักขึ้นแต่อย่างไร ปั๊มจะทำงานหนัก ก็ต่อเมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้ามากเกินกำลังของไดชาร์จอยู่เกือบหรือตลอดเวลา

ไฟเตือนบนแผงหน้าปัด

ระบบการประจุไฟฟ้าของรถยนต์ทุกคันมีไฟสัญญาณเตือนบนแผงหน้าปัดแสดงเป็น ไฟรูปแบตเตอรี่โดยมิได้เป็นการเตือนว่าแบตเตอรี่หมดหรือเต็ม แต่เป็นการแสดงถึง ความปกติหรือผิดปกติของระบบไดชาร์จ หากทุกอย่างปกติ เมื่อปิดกุญแจในจังหวะแรก ไฟเตือนต้องสว่างนิ่ง และเมื่อเครื่องยนต์ถูกสตาร์ท และทำงานแล้ว ไฟเตือนจะดับลงตลอดการขับ

ถ้าเครื่องยนต์ยังทำงานอยู่แล้วมีไฟเตือนสว่างขึ้น แสดงว่าระบบการประจุไฟฟ้าบกพร่อง โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ไดชาร์จ (หรือระบบการประจุไฟฟ้าเสีย) หรือสายพานไดชาร์จขาด โดยต้องรีบจอดรถยนต์ในที่ปลอดภัยเพื่อลงมาเปิดฝากระโปรงตรวจดูสายพานเป็นอย่างแรก ถ้าสายพานไม่ขาด แสดงว่าระบบไดชาร์จเสีย แต่ยังมีไฟฟ้าสำรองในแบตเตอรี่อยู่ สามารถขับต่อไปได้ในช่วงสั้น ๆ ประมาณกว่า 5 กิโลเมตร และนี่ก็คือการดึงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้อย่างเดียวไม่มีการประจุไฟฟ้ากลับเข้าไป จึงควรปิดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าลงทั้งหมด เช่น แอร์ เครื่องเสียง ฯลฯ เพื่อให้มีการ ดึงไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ช้าและน้อย ทำให้รถยนต์ยังแล่นต่อไปได้ระยะทางมากที่สุด ถ้าการจราจรไม่ติดขัดมาก และแบตเตอรี่ลูกใหญ่พอสมควร ส่วนใหญ่ไปได้เกิน 10 กิโลเมตร เพื่อนำรถยนต์ไปซ่อมแซมระบบไดชาร์จ

ถ้าสายพานขาด เดาได้ว่าระบบการประจุไฟฟ้าไม่เสีย แต่เมื่อไดชาร์จไม่มีการหมุน เพราะสายพานขาดจึงไม่มีผลิตกระแสไฟฟ้า ต้องดูให้ละเอียดลงไปอีกว่า สายพานเส้นที่ขาดนั้น เกี่ยวข้องกับระบบสำคัญของเครื่องยนต์หรือไม่ ถ้าสายพานเส้นที่ขาด ขับคอมเพรเซอร์แอร์ หรือปั๊มของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ด้วย ก็ยังทนขับแบบร้อน ๆ หรือพวงมาลัยหนัก ๆ ได้อีกหลายกิโลเมตร คล้ายกับกรณีสายไฟฟ้าบกพร่อง

หากสายพานเส้นที่ขาดต้องใช้ในการขับเคลื่อนปั๊มน้ำในระบบระบายความร้อนด้วย (ส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้น) ก็จะสามารถขับต่อไปในระยะทางสั้นมากเพื่อหลบหลีกการจราจร หรืออันตรายได้เท่านั้นโดยต้องดูมาตรวัดความร้อนของเครื่องยนต์ ถ้าความร้อนขึ้นสูงมาก ต้องรีบจอดดับเครื่องยนต์

กรณีที่ไฟเตือนไม่ขึ้นหลังบิดกุญแจจังหวะแรก ต้องตรวจสอบว่าระบบไดชาร์จบกพร่อง หรือหลอดไฟเตือนขาด หากใช้รถยนต์ปกติแล้วมีไฟเตือนสว่างริบหรี่แสดงว่า ระบบการประจุไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์ ที่ใช้ไฟฟ้ามากขึ้น

ทำไมแบตเตอรี่หมด

ถ้าไดชาร์จปกติแบตเตอรี่ไม่เสื่อม แล้วไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมจนกินกระแส ไฟฟ้ามากเกินไปแบตเตอรี่จะไม่มีการหมด นอกจากในเครื่องยนต์รอบเดินเบา ไดชาร์จ ผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าการใช้อยู่มาก และจอดนิ่งนานหลายชั่วโมง แบตเตอรี่อาจหมดได้ ซึ่งไม่ค่อยพบปัญหานี้ในการใช้งานบนสภาพจราจรปกติ เพราะในการใช้รถยนต์ เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากสารพัดอุปกรณ์ เช่น เครื่องยนต์แอร์ เครื่องเสียง ไฟฟ้าส่องสว่าง ฯลฯ ก็จะมีไดชาร์จคอยส่งไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้เพิ่มกลับเข้าไปสู่แบตเตอรี่อยู่ตลอด

หากแบตเตอรี่หมด เพราะไดชาร์จผิดปกติ คือผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ แต่แบตเตอรี่ ยังไม่หมดสภาพก็มีการดึงไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ไปใช้เรื่อย ๆ ก็แค่ซ่อมแซม ระบบไดชาร์จให้เป็นปกติ ใช้เครื่องประจุแบตเตอรี่ให้เต็ม หรือทำให้เครื่องยนต์ติด แล้วให้ไดชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ (ช้าหน่อย) ก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ (มักไม่ค่อยเกิดปัญหานี้)
หลังจอดรถยนต์ไว้ ถ้าแบตเตอรี่หมดหรือกระแสไฟฟ้าอ่อนลงมากจนไดสตาร์ท หมุนเครื่งยนต์ไม่ไหว ขณะที่ระบบไดชาร์จและเครื่องยนต์ปกติ แสดงว่า แบตเตอรี่หมดสภาพ

ถ้าจำเป็นและพอมีกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่เหลือเพียงพอสำหรับเครื่องยนต์ เช่น
ระบบหัวฉีด ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ และเป็นระบบเกียร์ธรรมดา ก็สามารถเข็นใส่เกียร์ 2 พอเข็นได้เร็วค่อยถอนคลัตช์พร้อมกดคันเร่ง เครื่องยนต์ก็จะกระตุกติดทำงานได้ หากไม่มีคนช่วยเข็นรวมถึงรถยนต์ระบบเกียร์อัตโนมัติต้องใช้รถยนต์อีกคันที่ติด เครื่องยนต์ไว้หรือยกแบตเตอรี่พ่วงเข้าด้วยกันอย่างระมัดระวังเมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด ก็เลิกพ่วง แม้แบตเตอรี่เสื่อมหรือเก็บไฟฟ้าไม่อยู่ แต่ถ้าระบบไดชาร์จเป็นปกติ และเครื่องยนต์ทำงานแล้วก็จะสามารถขับต่อเนื่องไปได้ตลอด โดยควรเร่งรอบเครื่องยนต์ ตอนจอดไว้หน่อย เพื่อให้ไดชาร์จผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ให้เครื่องยนต์ดับ เพราะเมื่อดับแล้วก็ต้องลุ้นกันอีกครั้งว่า ไฟฟ้าในแบตเตอรี่จะมีพอ สำหรับไดสตาร์ท หมุนเครื่องยนต์อีกครั้งหรือไม่ นอกจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีนี้ ด้วยการเข็นกระตุกเครื่องยนต์ หรือการพ่วงแบตเตอรี่แล้ว การแก้ไขถาวรที่ดี คือ เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

เปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่ แอมป์สูงดีไหม

เมื่อแบตเตอรี่รถยนต์หมดสภาพหรือมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแล้วค่อยคิดถึงคำถามนี้ ถ้าแบตเตอรี่ไม่หมดสภาพในขณะที่ยังไม่ได้เพิ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ การเปลี่ยนแบตเตอรี่ ลูกใหญ่-แอมป์สูง ถือเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ได้คำนวณ และเลือกขนาดของแบตเตอรี่ต่ำพอเหมาะอยู่แล้ว หากแบตเตอรี่หมดสภาพแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ แล้วมีช่องพอสำหรับแบตเตอรี่ใหญ่ และแบตเตอรี่ลูกเดิมมีแอมป์ไม่สูงนักก็ควรเปลี่ยนลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น (เสมือนมีถังน้ำสำรองใหญ่ขึ้น) เพราะ 4 เหตุผล

  1. ราคาแพงขึ้นไม่กี่ร้อยบาท
  2. มีกำลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น
  3. มีกำลังไฟฟ้าแรงขึ้น
  4. ไม่ได้ทำให้ไดชาร์จทำงานหนักขึ้นหรือพังเร็ว
    สรุปคือ มีแต่บวกไม่มีลบเลย นอกจากเสียเงินเพิ่มไม่กี่ร้อยบาท

เครื่องยนต์ยุคใหม่ที่ใช้ระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์อื่นได้กระแสไฟฟ้าที่มีแอมป์สูงย่อมทำงานได้ดีขึ้น หากต้องจอดนิ่งเครื่องยนต์เดินเบาบนการจราจรติดขัดนาน ๆ ไดชาร์จได้น้อย ก็มีพลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น รถยนต์ทุกรุ่นอย่าเลือกเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีแอมป์ต่ำลงจาก มาตรฐาน และถ้ามีโอกาสควรเลือกแบตเตอรี่ลูกใหม่ที่มีแอมป์สูงขึ้นประมาณ 10-30 แอมป์ โดยดูจากตัวเลขที่ระบุบนตัวแบตเตอรี่

การประจุไฟฟ้าสู่แบตเตอรี่ในครั้งแรกสุดหรือครั้งใด ๆ ไม่ใช่เป็นการประจุจากไดชาร์จ ควรใช้วิธีชาร์จช้า ประมาณ 5-10 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้แบตเตอรี่ไม่เสื่อมสภาพง่าย แต่ทางร้านมักใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบบริการลูกค้า และจะทำให้แบตเตอรี่ลูกนั้น
มีอายุไม่มาก ต้องเวียนมาเปลี่ยนใหม่เร็วขึ้นเล็กน้อย

อายุการใช้งานแบตเตอรี่ 1.5-3 ปี แบตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ 1.5-3 ปี เท่านั้น โดยดูได้จากตัวเลขที่ตอกลง บนตัวแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าจะมีการตอกเอง โดยปกติ เมื่อเกิน 1.5-2 ปี ก็ถือว่า คุ้มค่าแล้วสำหรับแบตเตอรี่ทั่วไปที่ผลิตในประเทศและจำหน่ายในราคาลูกละ 1,000 กว่าบาท เมื่อเกินอายุ 2-2.5 ปี ถ้ากังวลให้ถือโอกาสเปลี่ยนก่อนก็ไม่สิ้นเปลืองมากนัก แบตเตอรี่-แอมป์สูง มักมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงควรคำนึงถึงขนาดของฐานที่จะวางลงไป เมื่อแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากถึงกับดัดแปลงฐานที่จะวาง หากไม่ต้องการแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงมากจริง ๆ เลือกขนาดเท่าที่พอจะวางได้ก็พอ

ชนิดแบตเตอรี่รถยนต์

มี 2 ชนิดหลัก คือ แบตเตอรี่แบบเปียก และแบบแห้ง

แบบเปียก (ใช้กันส่วนใหญ่) แบ่งเป็น 2 แบบย่อย คือ ต้องเติมและดูแลน้ำกลั่นบ่อย (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และแบบดูแลไม่บ่อย (MAINTAINANCE FREE) กินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบจะมีฝาปิดเปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งาน ประมาณ 1.5-3 ปี

แบบแห้ง ทนทาน ราคาแพง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งานมากกว่าแบบเปียก ประมาณ 3-6 เท่าหรือประมาณ 5-10 ปี

ขี้เกลือขั้วแบตเตอรี่

อาจมีการขึ้นขี้เกลือ ซึ่งช้ามาก และทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าด้อยลง การทำความสะอาดที่ดี ต้องถอดขั้วออกและทำความสะอาดทั้งขั้วบนแบตเตอรี่และขั้วบนสายไฟฟ้า พร้อมเคลือบด้วยจาระบีหรือน้ำมันเครื่อง ถ้าไม่มีความรู้เชิงกลไก ใช้น้ำอุ่นราดผ่านก็เพียงพอในระดับหนึ่ง

ตรวจน้ำกลั่นทุกสัปดาห์
ควรตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ทุกสัปดาห์ ควรเติมให้ได้ระดับ โดยถ้าแบตเตอรี่ มีผิวด้านข้างใส ก็ส่องดูได้ แต่ถ้าผิวทึบหรือเล็งด้านข้างไม่สะดวก เติมน้ำกลั่นให้ท่วม แถบแผ่นธาตุไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร อย่าใช้น้ำกรองหรือใช้น้ำที่ไม่ใช่น้ำกลั่นเติม แบตเตอรี่เพราะจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง

“แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่แพง เสียยาก ดูแลง่าย แต่อย่ามองข้าม เพราะเป็นพลังไฟฟ้าสำรอง ในรถยนต์ทุกคัน”

วรพล สิงห์เขียวพงศ์ – เรียบเรียง

ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบตเตอรี่ (Battery) หมายถึง ?

ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบตเตอรี่ (battery) หมายถึงอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้เก็บพลังงาน และนำมาใช้ได้ในรูปของไฟฟ้า แบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าเคมี เช่น เซลล์กัลวานิก หรือเซลล์เชื้อเพลิง อย่างน้อยหนึ่งเซลล์ เชื่อกันว่าหลักฐานชิ้นแรกสุดที่เป็นไปได้ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ในประวัติศาสตร์โลก คือ วัตถุที่เรียกว่าแบตเตอรี่แบกแดด (Baghdad Battery) คาดว่ามีอายุในช่วง 250 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 640 สำหรับพัฒนาการของแบตเตอรี่ในยุคใหม่นั้น เริ่มต้นที่ ที่พัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี นามว่าอาเลสซานโดร โวลตา เมื่อ ค.ศ. 1800 ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสามารถสร้างรายได้จากการขายปีละ 4.8 หมื่นล้านดอลาร์สหรัฐเลยทีเดียว

ประเภทแบตเตอรี่สามัญ

แบตเตอรี่ชนิดอัดกระแสไฟใหม่ได้ และชนิดใช้แล้วทิ้ง
จากมุมมองของผู้ใช้แบตเตอรี่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้; แบตเตอรี่ชนิดอัดกระแสไฟใหม่ได้ และ แบตเตอรี่ชนิดอัดกระแสไฟใหม่ไม่ได้ (ใช้แล้วทิ้ง) ซึ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งสองชนิด

แบตเตอรี่ใช้แล้วทิ้งเรียกอีกอย่างว่า เซลล์ปฐมภูมิ ใช้ได้ครั้งเดียว เนื่องจากไฟฟ้าที่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีเมื่อสารเคมีเปลี่ยนแปลงหมดไฟฟ้าก็จะหมดจากแบตเตอรี่ แบตเตอรี่เหล่านี้เหมาะสำหรับใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กและสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้ไฟน้อยหรือในที่ที่ห่างไกลจากพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ

ในทางตรงกันข้ามแบตเตอรี่ชนิดอัดกระแสไฟใหม่ได้หรือ เซลล์ทุติยภูมิ สามารถอัดกระแสไฟใหม่ได้หลังจากไฟหมดเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ทำแบตเตอรี่ชนิด นี้สามารถทำให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมได้โดยการอัดกระแสไฟเข้าไปใหม่ซึ่ง อุปกรณ์ที่ใช้อัดไฟนี้เรียกว่า ชาร์เจอร์ หรือ รีชาร์เจอร์

แบตเตอรี่ชนิดอัดกระแสไฟใหม่ได้ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้อยู่จนกระทั่งปัจจุบันคือ “เซลล์เปียก” แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด(lead-acid battery) แบตเตอรี่ชนิดนี้จะบรรจุในภาชนะที่ไม่ได้ปิดผนึก (unsealed container) ซึ่งแบตเตอรี่จะต้องอยู่ในตำแหน่งตั้งตลอดเวลาและต้องเป็นพื้นที่ที่ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เพื่อระบายก๊าซ ไฮโดรเจน ที่เกิดจากปฏิกิริยาและแบตเตอรี่ชนิดจะมีน้ำหนักมาก

รูปแบบสามัญของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด คือแบตเตอรี่ รถยนต์ ซึ่งสามารถจะให้พลังงานไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 10,000 วัตต์ในช่วงเวลาสั้นๆ และมีกระแสตั้งแต่ 450 ถึง 1100 แอมแปร์ สารละลายอิเล็กโตรไลต์ของแบตเตอรี่คือ กรดซัลฟิวริกซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อผิวหนังและตาได้ แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดที่มีราคาแพงมากเรียกว่า แบตเตอรี่เจล (หรือ “เจลเซลล์”) ภายในจะบรรจุอิเล็กโตรไลต์ประเภทเซมิ-โซลิด (semi-solid electrolyte) ที่ป้องกันการหกได้ดี และแบตเตอรี่ชนิดอัดไฟใหม่ได้ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกกว่าคือประเภท “เซลล์แห้ง” ที่นิยมใช้กันใน โทรศัพท์มือถือ และ แลปท๊อป (Notebook) เซลล์ของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือ

  • นิเกิล-แคดเมียม (NiCd)
  • นิเกิลเมตทัลไฮไดรด์ (NiMH)
  • ลิเทียม-ไอออน (Li-Ion)

แบตเตอรี่แบบใช้แล้วทิ้ง

  • Zinc-carbon battery
  • Alkaline battery
  • Silver-oxide battery
  • Lithium battery
  • Mercury battery
  • Zinc-air battery

แบตเตอรี่แบบชาร์จใหม่ได้

  • Lead-acid battery
  • Absorbed glass mat
  • Gel battery
  • lithium-ion battery
  • lithium ion polymer battery
  • NaS battery
  • Nickel metal hydride battery
  • Nickel-cadmium battery
  • Sodium-metal chloride battery
  • Nickel-zinc battery

อ้างอิงข้อมูลจาก : http://th.wikipedia.org จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Get In Touch

โทร : 02-8932324 , 02-4171132

สายตรง : 081-3411848 , 089-1369960

Send A Message

4 + 2 =